ประธานสภาเกษตรกรจังหวัด |
|
|
นายประยงค์ เฟื้อยใต้
ประธานสภาเกษตรกร จังหวัดนครพนม |
|
|
 |
 |
 |
ระบบสมาชิก |
|
สมาชิกทั้งหมด 3 คน |
สมาชิกที่กำลังออนไลน์ 0 คน |
|
|
 |
 |
 |
|
|
 |  |  |
|
|

|
กระดานงาน - แสดงโครงการ # 3
ชื่อโครงการ | สถานะ | % | ความสำคัญ |  | โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม | เปิด | 0 | สูงมาก | สถิติของโครงการ/ข้อมูลทั่วไป |  | วันเริ่มต้น: 01/10/2016 |  | วันสิ้นสุด (ประมาณการ): 31/03/2017 |
รายละเอียดของโครงการ: | หลักการและเหตุผล
พระราชบัญญัติสภาเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ.2553 กำหนดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ประการหนึ่ง คือ “เพื่อสนับสนุนสิทธิและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการกำหนดนโยบายและการวางแผนพัฒนาเกษตรกรรมอย่างเป็นระบบ เพื่อให้รัฐรักษาเสถียรภาพด้านราคาและความมั่นคงในอาชีพเกษตรกร เพิ่มศักยภาพและยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองอย่างต่อเนื่องให้เป็นไปเพื่อเกษตรกรอย่างแท้จริง”ที่ผ่านมาในปีงบประมาณ พ.ศ.2557 สภาเกษตรกรแห่งชาติได้ดำเนินการจัดทำแผนแม่บทเพื่อพัฒนาเกษตรกรรม ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในพื้นที่จากระดับล่างสู่บน มีการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตั้งแต่ในระดับ ตำบล อำเภอ จังหวัด เป็นลำดับจนเป็นแผนพัฒนาเกษตรกรรมในระดับประเทศ ในการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมดังกล่าวครั้งนั้นมุ่งเน้นให้ความสำคัญในระดับหมู่บ้าน ตำบลอย่างมาก เพราะถือเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาและความต้องการในการพัฒนาทุกเรื่องทุกสาขาทั้งในภาคการเกษตรและนอกภาคการเกษตร ข้อมูลปัญหาความต้องการต่างๆที่ได้จากพื้นที่เหล่านั้นถือเป็นข้อมูลจริงที่เกิดจากปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรโดยตรง ในเรื่องที่มีความเร่งด่วนสภาเกษตรกรแห่งชาติได้ให้ความสำคัญและเร่งนำเสนอรัฐบาลในลักษณะข้อเสนอเชิงนโยบายและพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปปัญหาต่างๆเหล่านั้นส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการแก้ไข ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 สภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงได้หยิบยกเรื่องการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบลขึ้นมาดำเนินการอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสนับสนุนชุมชนระดับตำบลร่วมมือกันแก้ไขปัญหาด้วยตนเอง ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมในการพัฒนาแก้ไขปัญหาร่วมกันในรูปแบบของการจัดการตนเอง พัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างการเกษตร และสร้างเครือข่ายองค์กรเกษตรกร เชื่อมโยง และพัฒนาความร่วมมือในด้านการผลิตทางเกษตรกรรม การแปรรูป การตลาด และการบริโภคเพื่อการยังชีพระหว่างเครือข่ายเครือข่ายเกษตรกรกับภาครัฐ และภาคเอกชน โดยมุ่งเน้นดำเนินการใน 5 เรื่องหลักให้บังเกิดผลแก้ปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย ปัญหาหนี้สิน ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ปัญหาที่ดินทำกิน ปัญหาสินค้าราคาเกษตร เรื่องสวัสดิการเกษตรกร สิทธิเกษตรกรและการไม่ได้รับความเป็นธรรม พื้นที่ดำเนินการอำเภอละ 1 ตำบลและหลังจากที่สภาเกษตรกรได้ดำเนินการเรื่องนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ได้มีคำสั่ง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2559 แต่งตั้งคณะทำงานปฏิบัติการขับเคลื่อนงานตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 6 เรื่อง ได้แก่ การลดต้นทุนและเพิ่มโอกาสในการแข็งขันสินค้าเกษตร การบริหารจัดการพื้นที่เกษตรกรรม ( Zoning )ระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ ศูนย์การเรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และธนาคารสินค้าเกษตร ซึ่งได้มุ่งเน้นพื้นที่ดำเนินการในระดับตำบลเช่นเดียวกับโครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล ที่สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสภาเกษตรกรจังหวัดกำลังดำเนินการอยู่
อย่างไรก็ตามสภาเกษตรกรแห่งชาติเห็นว่าการแก้ปัญหาการเกษตรของประเทศได้นั้นต้องมีการดำเนินงานในลักษณะของการรวมกลุ่ม และการส่งเสริมพัฒนากลุ่มให้มีความเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ โดยเริ่มจากกลุ่มขนาดเล็กระดับหมู่บ้าน ตำบล ส่งเสริมให้มีการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรเบื้องต้นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม ในลักษณะของเกษตรอุตสาหกรรม หรือ SMEs เกษตร ซึ่งการที่จะพัฒนาสู่ความเข้มแข็งในระดับนั้นได้ จำเป็นต้องสนับสนุนให้กลุ่มหรือชุมชนมีแผนปฏิบัติงาน มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีข้อมูลที่ครบถ้วนถูกต้อง และเป็นปัจจุบัน เพื่อใช้ในการวางแผน มีการสร้างผู้นำ สร้างคนในชุมชนหรือกลุ่มองค์กร ให้มีความรู้ความเข้าใจมีความสามารถจัดทำแผนงาน กำหนดวิธีการ เป้าหมายการดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นพลังขับเคลื่อนที่สำคัญให้กับเศรษฐกิจฐานรากระดับตำบลอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสอดคล้องเป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ดังนั้นในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 จึงได้ควบรวมโครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล กับโครงสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรและองค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตรเข้าไว้ด้วยกัน เป็นกิจกรรมภายใต้ “โครงการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมตำบลเป็นเกษตรอุตสาหกรรม”
วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อพัฒนาเกษตรกรให้มีความรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง สามารถจัดทำแผนพัฒนาร่วมกัน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างทางการเกษตร
2. จัดตั้งองค์กรเกษตรกรรายสินค้าเกษตรในพื้นที่ตำบลเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นสินค้าเกษตรชนิดใหม่ในพื้นที่หรือพัฒนาแก้ไขสินค้าเกษตรเดิม และเชื่อมโยงเครือข่าย
3. ปรับปรุงระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรของเกษตรกรในตำบล โดยอาศัยแผนพัฒนาเกษตรกรรม การบริหารจัดการ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นเครื่องมือสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรตลอดห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในรูปแบบเกษตรอุตสาหกรรม และ SMEs เกษตร เปลี่ยนแปลงจากเกษตรแบบดั้งเดิมเป็นเกษตรสมัยใหม่เน้นบริหารจัดการแลเทคโนโลยี สร้างเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการ
เป้าหมายโครงการ
1. ส่งเสริมการจัดทำแผนพัฒนาเกษตรกกรมระดับตำบล และสร้างความเข้มแข็งแก่เกษตรกรหรือองค์กรรายสินค้าเกษตรในพื้นที่ทุกตำบล ทุกอำเภอในจังหวัดนครพนม จำนวน 99 ตำบล ได้ดำเนินการไปแล้วในปีงบประมาณ พ.ศ.2559 จำนวน 12 ตำบล คงเหลือดำเนินการในปี 2560 - 2564 จำนวน 87 ตำบล ดังนี้
ปี 2560 อำเภอละ 1 ตำบล รวม 12 ตำบล
ปี 2561 - 2562 ปีละ 24 ตำบล รวมจำนวน 48 ตำบล
ปี 2563 จำนวน 27 ตำบล
2. ส่งเสริม สนับสนุนเกษตรกรหรือองค์เกษตรกรรายสินค้าเกษตร พัฒนาเป็นเกษตรอุตสาหกรรมหรือ SME เกษตร จำนวน 17 ตำบล (ร้อยละ 17 ของตำบลที่จัดทำแผนพัฒนาเกษตรกรรมในปีที่ผ่านมา) ดังนี้
ปี 2560 จำนวน 2 ตำบล
ปี 2561 จำนวน 2 ตำบล
ปี 2562 – 2563 ปีละ 4 ตำบล รวมจำนวน 8 ตำบล
ปี 2564 จำนวน 5 ตำบล
ตัวชี้วัดโครงการ
1. เชิงปริมาณ : จำนวนแผนพัฒนาเกษตรกรรมระดับตำบล เพื่อการพัฒนาหรือแก้ไขปัญหา ร่วมกับหน่วยงานในจังหวัด ภาคประชาสังคม ภาคธุรกิจเอกชน หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตามแนวทางประชารัฐ ที่จัดทำแล้วเสร็จ
2. เชิงคุณภาพ : ร้อยละ 65 ความสำเร็จของเกษตรกร องค์กรเกษตรกรมีเป้าหมายได้รับการพัฒนาอาชีพเป็นเกษตรอุตสาหกรรม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เกษตรกรสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาเพื่อพัฒนาอาชีพ มีรายได้เพิ่มขึ้นมีความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ชุมชนระดับตำบลมีศักยภาพและความสามารถในการบริหารจัดการงานสู่การบริหารจัดการตนเอง
3. ระบบการผลิตและการตลาดสินค้าเกษตรในตำบลมีการเปลี่ยนแปลงจากที่ขายวัตถุดิบแต่เดิมเป็นการขายผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่ม
|
งานในโครงการ | สถานะ | % | ความสำคัญ | มอบหมาย | ยังไม่มีงานที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้ |
|
|
|
|
 |  |  |
|